รายงานผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม คณะวิจิตรศิลป์ ประจำปีงบประมาณ 2564
1. ชื่อโครงการ :
บรรยายพิเศษหัวข้อ “สถาปัตยกรรมและวิศวกรรม วิธีคิดสมัยใหม่ผ่านสถาปนิกยุโรปในประเทศไทย” ศิลปะ ปรัชญา และศาสตร์ความรู้ที่หลากหลาย (Art, philosophy, and science)
โครงการ/กิจกรรมในแผนการดำเนินการ/กิจกรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564
โครงการที่ได้รับงบประมาณสนับสนุน จากงบประมาณโครงการยุทธศาสตร์ที่ 3 และ 4
โครงการนอกแผนการดำเนินการโครงการ/กิจกรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564
2. ผู้รับผิดชอบโครงการ
รองศาสตราจารย์ยุพา มหามาตร
ตำแหน่ง
รองศาสตราจารย์
หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
งานบริการการศึกษาและพัฒนาคุณภาพนักศึกษา
3. สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ :
ยุทธศาสตร์ที่ :
ยุทธศาสตร์ตามพันธกิจที่ 4 - ตามพันธกิจ : ผลิตบัณฑิตที่มีคุณธรรม คุณภาพ และมีทักษะการเป็นพลเมืองโลก
กลยุทธ์ที่ :
4.4 ส่งเสริมและผลักดันให้การจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษาสามารถตอบสนองทักษะที่จำเป็นสำหรับการประกอบอาชีพในอนาคต และส่งเสริมให้นักศึกษาเป็นคนดีในสังคม โดยเน้นจิตอาสา ซื่อสัตย์และรับผิดชอบ
ตัวชี้วัดที่ :
4.4.6 ร้อยละของอาจารย์ที่สามารถนำเครื่องมือ/วิธีการเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21 และ/หรือทักษะการเป็นพลเมืองโลกไปปรับใช้ในการจัดการเรียนการสอน
4.ตอบสนองตัวชี้วัดตามคำรับรองการปฏิบัติงานของคณะวิจิตรศิลป์
ตัวชี้วัดคำรับรองที่ 1 จำนวนผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่า / คุณค่าเพิ่ม หรือผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ที่ได้รับมาตรฐาน (ชิ้นงาน) / จำนวนผลงานตีพิมพ์ที่อยู่ใน TRL 1-3 (ผลงาน)
ตัวชี้วัดคำรับรองที่ 2 จำนวนนวัตกรรม (นวัตกรรม) / จำนวนผลงานที่อยู่ใน TRL 4-7 (ผลงาน)
ตัวชี้วัดคำรับรองที่ 3 จำนวนสิทธิบัตรออกแบบที่ยื่นจด (สิทธิบัตร)
ตัวชี้วัดคำรับรองที่ 4 จำนวนการให้บริการ IP ต่อปี (สิทธิบัตร) หรือจำนวน Spin off / Start up ต่อปี (ธุรกิจ) หรือ ผลงานที่เทียบเท่า TRL 8-9 (ผลงาน)
ไม่ตอบสนอง ตัวชี้วัดตามคำรับรองการปฏิบัติงานของคณะวิจิตรศิลป์
5. หลักการและเหตุผล
เนื่องด้วยในกระบวนวิชามนุษย์กับศิลปะ (Man & Art) รหัสวิชา 109100 มีเนื้อหาในรายวิชาที่เกี่ยวกับศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับศิลปะ ความเป็นมา โครงสร้างของงานศิลปะกับมนุษย์ อิทธิพล บทบาท หน้าที่ ระหว่างศิลปะกับมนุษย์ คุณค่าของงานศิลปกรรมในสังคมมนุษย์ สามารถอธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับศิลปะและวิเคราะห์ถึงคุณค่าของศิลปะในบริบททางสังคมในสภาวะสมัย คุณจิตติ เกษมกิจวัฒนา ศิลปินและภัณฑารักษ์ เป็นผู้ที่ความสนใจในความสัมพันธ์ระหว่างการปฏิบัติการ ศิลปะการจัดวาง และการเปลี่ยนผ่านความคิดข้ามพรมแดนเครือข่ายต่าง ๆ ผลงานของคุณจิตติ ได้ถูกจัดแสดงตามพิพิธภัณฑ์และหอศิลป์ต่าง ๆ มากมาย ทั้งในและนอกประเทศ มักอยู่ในรูปแบบของโครงการอิสระ เช่น About Studio / About Cafe ในฐานะภัณฑารักษ์หอวชิราวุธานุสรณ์ กรุงเทพฯ และภัณฑารักษ์นิทรรศการวังน่านิมิต เป็นต้น คุณจิตติเป็นหนึ่งในสมาชิกร่วมก่อตั้ง อาร่า – องค์กรจัดการและสนับสนุนศิลปะร่วมสมัยในประเทศไทย และเป็นภัณฑารักษ์คนแรกของ อะเบ๊าท์สตูดิโอ/อะเบ๊าท์คาเฟ่ พื้นที่ศิลปะอิสระในกรุงเทพฯ ระหว่างปี พ.ศ. 2540-42 ต่อมาได้ร่วมก่อตั้ง สำนักพิมพ์น้ำดี และเป็นบรรณาธิการร่วมกับ ฤกษ์ฤทธิ์ ตีระวนิช ผลิตนิตยสาร VER ในช่วงปี พ.ศ. 2545-6 โปรเจ็คล่าสุดคือ Messy Sky ซึ่งเริ่มต้นจากการเป็นนิตยสาร ในปี 2554 และได้พัฒนาต่อมาเป็นพื้นที่ศิลปะ โดยร่วมมือกับเพื่อน ๆ ศิลปิน และภัณฑารักษ์ซึ่งพำนักอยู่ในกรุงเทพฯ จึงนับว่าเป็นโอกาสดีที่นักศึกษาในกระบวนวิชามนุษย์กับศิลปะ จะได้ใช้ช่วงเวลานี้ได้มีประสบการณ์ในการเรียนรู้แลกเปลี่ยนทัศนคติและประสบการณ์ทางความคิดกับผู้มีความรู้รอบด้าน นำมาซึ่งการกระตุ้น และผลักดันให้นักศึกษาได้เกิดความเข้าใจศิลปะที่หลากหลาย สามารถบูรณาการให้เหมาะสมกับชีวิตประจำวันในกาลเทศะหรืออาจนำความรู้ที่ได้นำไปวิเคราะห์และประยุกต์ใช้กับการมุมมองในด้านศิลปะท่ามกลาง การพัฒนาในปัจจุบันของโลกร่วมสมัย
6. วัตถุประสงค์ของโครงการ
1. เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้เรียนรู้การวิเคราะห์ และสะท้อนเรื่องราวต่างๆ ผ่านงานศิลปะ ออกมาได้อย่างเหมาะสม และหลากหลาย 2. เปิดโอกาสให้เกิดการแลกเปลี่ยน แสดงทัศนะ ระหว่างนักศึกษากับผู้มีความรู้และเชี่ยวชาญในสายภัณฑารักษ์
7. สถานภาพของโครงการ
โครงการเดิม
8.กลุ่มเป้าหมายของโครงการ
กลุ่มเป้าหมาย
ประมาณการ
ผู้เข้าร่วมจริง
นักศึกษาในรายวิชา 109100 ตอน 001
137
0
9.ตัวชี้วัดผลผลิต (Output) และผลลัพธ์ (Outcome)
ตัวชี้วัดผลผลิต/ผลลัพธ์ และเป้าหมายของตัวชี้วัด
(ที่สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ / ตัวชี้วัดตามคำรับรองผลการปฏิบัติงานของคณะวิจิตรศิลป์)
ผลผลิต (Output)
ค่าเป้าหมาย
ความสำเร็จ
ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ :
นักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชา 109100 เข้าร่วมโครงการร้อยละ 90
ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ :
นักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการทั้งหมด มีผลงานส่งคนละ 1 ผลงาน
ผลลัพธ์ :
นักศึกษาสามารถคิด วิเคราะห์และสะท้อนเรื่องราวผ่านผลงานศิลปะได้
10. ระยะเวลาเริ่มต้นโครงการ
9 มีนาคม 2564
ระยะเวลาสิ้นสุดโครงการ
9 มีนาคม 2564
11. สถานที่
ห้องบรรยาย ชั้น 4 อาคารปฏิบัติการออกแบบ คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
12. กำหนดการ(ถ้ามี)
-
13. สรุปค่าใช้จ่ายของโครงการ/กิจกรรม
ระบุแหล่งงบประมาณ พร้อมระบุรหัสงบประมาณ ที่ใช้ในการเบิกจ่ายเพื่อดำเนินโครงการ/กิจกรรม จำนวน .........10,500.00 บาท (หนึ่งหมื่นห้าร้อยบาทถ้วน)......... บาท และแสดงรายละเอียดของค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในโครงการโดยแยกรายจ่ายประเภทต่าง ๆ ให้ชัดเจน
รายละเอียดค่าใช้จ่าย ดังนี้
รหัสงบประมาณ
: งบประมาณโครงการแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท
ประมาณการ
งบประมาณที่ใช้จริง
1
ค่าตอบแทนวิทยากร 1 ท่าน บรรยาย 3 ชั่วโมงๆ ละ 1,200 บาท(คุณจิตติ เกษมกิจวัฒนา)
3,600.00
0.00
2
ค่าที่พัก (จำนวน 1 คืน)
1,200.00
0.00
3
ค่าใช้จ่ายในการเดินทางวิทยากร(ตั๋วเครื่องบิน ไป/กลับ กรุงเทพฯ-เชียงใหม่)
4,500.00
0.00
4
0.00
0.00
5
0.00
0.00
6
0.00
0.00
รวมเป็นเงิน
9,300.00
0.00
14.ประโยชน์ที่ได้รับ
1. ผู้เข้าฟังร่วมสามารถสร้างข้อคิดเห็น เสนอมุมมองใหม่ เรียนรู้กับการวิเคราะห์ของการค้นหาคำตอบได้อย่างหลากมิติวิถี 2. ผู้เข้าฟังได้แลกเปลี่ยน แสดงทัศนะ ระหว่างนักศึกษากับผู้มีความรู้และเชี่ยวชาญในสายภัณฑารักษ์
13.ข้อเสนอแนะจากการจัดโครงการ
หมายเหตุ :
หมายเหตุ : หน่วยงาน ไม่ต้อง Print out รายงานและเอกสารหลักฐานแนบจากระบบ e-Project แต่ให้ส่งบันทึกข้อความแจ้งมายังงานนโยบายและแผนและประกันคุณภาพการศึกษา ว่าได้ดำเนินการ รายงานผลการดำเนินการโครงการในระบบ e-Project เป็นที่เรียบร้อยแล้วเท่านั้น (ภายใน 15 วันทำการ หลังจากดำเนินโครงการเสร็จสิ้น)
แนบเอกสาร/หลักฐาน
สำเนาโครงการที่ได้รับอนุมัติ
ไฟล์แนบ
กำหนดการ / สูจิบัตร / สื่อสิ่งพิมพ์ / สื่อประชาสัมพันธ์
ไฟล์แนบ
คำสั่งคณะกรรมการดำเนินโครงการ
ไฟล์แนบ
รายชื่อผู้เข้าร่วมโครงการ/ใบลงทะเบียน
ไฟล์แนบ
ตัวอย่าง แบบสอบถามที่ใช้ในการประเมินโครงการ /สรุปผลประเมินโครงการ
ไฟล์แนบ
ภาพบรรยากาศการดำเนินโครงการ/กิจกรรมประกอบโครงการ
ไฟล์แนบ
อื่น ๆ (ถ้ามี)
ไฟล์แนบ